วันอังคารที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ประเพณีไทย


ประเพณีไทย




ในชื่อ วันเทโวโรหณะ  หรือรู้จักกันในวันพระพุทธเจ้าเปิดโลก มีประวัติ ดังนี้คือในพรรษาที่ 7 นับแต่ปีที่ตรัสรู้ พระพุทธองค์จึงได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดาอยู่หนึ่งพรรษา หรือ 3เดือน ครั้นถึงวันปวารณาออกพรรษา วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 พระพุทธองค์จึงเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ทางบันไดทิพย์ ทั้ง 3 ได้แก่ บันไดเงิน และ บันไดทอง และ บันไดแก้ว ซึ่งสักกเทวราช หรือพระอินทร์ ให้พระวิษณุกรรมเนรมิตทอดจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์สู่โลกมนุษย์ ที่ ประตูเมืองสังกัสนคร  บรรดาพุทธศาสนิกชนพอทราบข่าวต่างก็มารอรับตักบาตรภัตตาหารกันอย่าง เนืองแน่นชาวพุทธจึงยึดถือปรากฎการณ์ ในวัน แรม1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ให้เป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงสู่โลกมนุษย์ เรียก “วันเทโวโรหณะ” และ วันพระพุทธเจ้าเปิดโลก เพราะวันนั้นโลกทั้ง 3 คือ สวรรค์ มนุษย์ และ บาดาล หรือนรกภูมิ ต่างสามารถแลเห็นกันได้ตลอดทั้ง 3 โลก โดยในวันออกพรรษานั้นมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่ในอดีตกาลดังที่จะกล่าวครับ ครั้นในอดีตที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วถึงวันเข้าพรรษาและ พระพุทธเจ้าทรงประทับจำพรรษาอยู่ ณ พระเชตุวันมหาวิหาร กรุงสาวัตถี เมื่อมีพระภิกษุมาจำพรรษาอยู่มากมายพระภิกษุเหล่านั้นจึงเกรงจะเกิดการขัด แย้งกันจนอยู่ไม่สุขตลอดพรรษา จึงได้ตั้งกฏกติกาว่าจะไม่พูดจากัน (มูควัตร)  เมื่อถึงวันออกพรรษาพระภิกษุเหล่านั้นก็พากันไปเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าที่พระ เชตวันมหาวิหาร กราบทูลเรื่องทั้งหมดให้ทรงทราบ พระพุทธเจ้าทรงตำหนิ แล้วทรงมีพระบรมพุทธานุญาตให้พระภิกษุกระทำการปวารณาต่อกันว่า

ประวัติวันเข้าพรรษา ประเพณีเข้าพรรษา

ประวัติวันเข้าพรรษานั้นเริ่มต้นจากเมื่อสมัยพุทธกาลโดยพระพุทธเจ้าเป็น ผู้กำหนดขึ้นเนื่องจากมีผู้มาเรียกเรียนว่า พระภิกษุสงฆ์เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยไม่หยุดหย่อนเลยแม้กระทั่งหน้า ฝนที่ฝนตกหนัก และน้ำหลาก การเดินทางลำบาก กระทั้งบางครั้งพระสงฆ์เหล่านั้นยังเดินไปเหยียบย่ำพืชผัก หรือผลผลิตที่กำลังเติบโต และกำลังผลิดอกออกผล ได้รับความเสียหาย
ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้กำหนดให้ฤดูฝนเป็นฤดูสำหรับการหยุดพักการเดิน ทางไปเผยแผ่ศาสนาของพระสงฆ์โดยกำหนดให้ตั้งแต่วันแรม 1ค่ำเดือน 8 เป็นวันเข้าพรรษา จนถึงวันขึ้น 15ค่ำเดือน 11และ เป็นวันออกพรรษา เพื่อพระสงฆ์จะได้หยุดพักจากการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และได้ปฏิบัติและศึกษาพระธรรมเพิ่มเติม และสั่งสอนลูกศิษย์หรือพระใหม่ที่เพิ่งบวชได้ร่ำเรียนธรรมะอย่างเต็มที่ โดยให้พระสงฆ์อยู่ประจำที่ไม่ไปจำวัดที่อื่นตลอดระยะเวลา 3เดือนที่เข้าพรรษานั้นแม้แต่คืนเดียว หากพระสงฆ์ไม่สามารถกลับมาทันก่อนรุ่งสางถือว่าภิกษุนั้นขาดพรรษา แต่มีข้อยกเว้นหากมีเหตุจำเป็นไม่สามารถกลับมาได้ทัน แต่ต้องกลับมาภายใน 7วัน นั้นคือ
 

ประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่แห่ตุงหลวง จังหวัดแพร่

          “ย้อนอดีตเก่าแก่  เมืองแพร่เมืองงาม  เล่าขานตำนานช่อแพร่ช่อแฮแหล่งประดิษฐานพระเกศาธาตุ  พระบรมสารีริกธาตุ พุทธเจ้า  เมื่อถึงวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๔ ใต้ เดือน ๖ เหนือ  พุทธศาสนิกชนหลั่งไหลไหว้พระธาตุช่อแฮ  เมืองแพร่  แห่ตุงหลวง  ถวายแด่องค์พระธาตุสืบมา” ตำนานเก่าแก่แห่งเมืองมนต์ขลังเล่าว่า  อดีตกาล  พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาถึงดอยโกสิยธชัคคะบรรพตและได้มอบพระเกศาธาตุให้ขุน ลั๊วอ้ายก้อมไปบรรจุในผอบแก้วแล้วนำไปไว้ในถ้ำด้านตะวันออกของดอยที่ประทับ  ซึ่งผ้าแพรที่ขุนลั๊วอ้ายก้อมนำมารองรับพระเกศาธาตุนั้นเรียกว่า “ผ้าแฮ”  นิยมนำผ้าแฮ หรือผ้าแพรมาประดิษฐ์เป็นช่อ  หรือธง  แล้วทำการถวายสักการะเป็นพุทธบูชา  ต่อมาภายหลังเพี้ยนมาเป็น  “ช่อแฮ่”  หรือ  “ช่อแพร่”  โดยครั้งนั้นพระพุทธเจ้าทรงมีรับสั่งว่า  ต่อไปเมืองนี้จะชื่อเมืองแพร่  และหลังจากที่พระองค์ปรินิพพานแล้ว  ให้นำพระธาตุข้อศอกข้างซ้ายมาประดิษฐ์ที่นี่ด้วย  และหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไปแล้ว ๒๑๘ ปี  พระเจ้าอโศกมหาราชและพระอรหันต์จำนวนมากได้ร่วมกันอธิษฐานอันเชิญพระบรมสารี กริกธาตุที่ได้บรรจุในผอบแก้วที่เตรียมไว้นั้นไปสถิตในสถานที่ซึ่งพระ พุทธเจ้าได้ทรงหมายไว้แต่เดิม  แล้วประกาศแก่เทวดาทั้งหลายให้พิทักษ์รักษาตลอดไป  จนกว่าจะหมดอายุแห่งพระพุทธศาสนา ๕๐๐๐ พระวัสสา

ประเพณีลอยกระทง เผาเทียนเล่นไฟ จังหวัดสุโขทัย

 ประเพณีไืทย – “พระราชพิธีจองเปรียง  แห่งเมืองสุโขทัย  เผาเทียน  เล่นไฟ  พลุ  ตะไล  ไฟพะเนียง  โคมลอยรูปดอกกระมุท  ที่สุดของโคม  แห่นางนพมาศ  บูชาพระพุทธมหานัมมทาน  วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒  ประชาราษฎร์กล่าวขาน  ลอยกระทง  เผาเทียน  เล่นไฟ  ร่วมแรงศรัทธาเผาเทียนบูชาพระรัตนตรัย  สว่างไสวพร้อมกัน” พระราชพิธีจองเปรียงมีมาแต่โบราณ  ช่วงสมเด็จพระร่วงเจ้า  จากหลักฐานในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์  ได้กล่าวถึงนางนพมาศว่า  เมื่อครั้งสมเด็จพระร่วงเจ้า  พร้อมด้วยพระอัครมเหสีและพระสนมฝ่ายใน  เสด็จลงประพาสลำน้ำในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒  ตามพระราชพิธีในเวลากลางคืน  เพื่อทอดพระเนตรการนักขัตฤกษ์  นางนพมาศจึงได้ประดิษฐ์กระทงถวายเป็นรูปดอกกระมุทหรือรูปดอกบัว  สมเด็จพระร่วงเจ้าพอพระทัยมาก  จึงประกาศว่า  “แต่นี้สืบไปเบื้องหน้า  กษัตริย์ในสยามประเทศ  ถึงการกำหนดนักขัตฤกษ์  วันเพ็ญเดือน ๑๒  พระราชพิธีจองเปรียง  แล้วก็ให้กระทำโคมลอยเป็นรูปดอกกระมุท  อุทิศสักการบูชาพระพุทธมหานัมมทาน  ตราบเท่ากัลปาวสาน”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น